top of page

ประเภทของเบาหวาน


โรคเบาหวาน ยังไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดได้อย่างชัดเจน

1. เบาหวานประเภทที่ 1 (Type 1 Diabetes) เกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอ เนื่องจากเบตาเซลล์(beta cells) ของตับอ่อนถูกทำลายด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องได้รับอินซูลินด้วยการฉีดหรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลิน

2. เบาหวานประเภทที่ 2 (Type 2 Diabetes) เป็นเบาหวานที่พบเป็นส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ตับอ่อนยังสามารถสร้างอินซูลินได้แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ผู้ป่วยต้องมีการควบคุมอาหาร การใช้ยาชนิดกินหรือใช้อินซูลินชนิดฉีด

3. เบาหวานที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์ หลังคลอดระดับน้ำตาลในเลือดจะกลับเป็นปกติ แต่จะมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคเบาหวาน มีรายงานได้ถึงร้อยละ 50 เมื่อติดตามต่อไป 10 ปี ถ้าไม่มีการปรับพฤติกรรมชีวิตในการลดความเสี่ยง

4. เบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางพัรธุกรรม โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตที่สร้างฮอร์โมน ฯลฯ

ลักษณะของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2

โรคเบาหวานประเภทที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ ซึ่งสร้างอินซูลินในส่วนของตับอ่อนทำให้ร่างกายหยุดสร้างอินซูลิน หรือสร้างได้น้อยมาก ดังที่เรียกว่า โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว และถ้าเป็นรุนแรง จะมีการคั่งของสารคีโตน(ketones) สารนี้จะเป็นพิษต่อระบบประสาททำให้หมดสติถึงตายได้

โรคเบาหวานประเภทที่ 2 เป็น เบาหวาน ที่พบเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ สาเหตุที่แท้จริงนั้นยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวกับ พันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะ น้ำหนักตัวมาก และขาดการออกกำลังกาย มีลูกดก อีกทั้งวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยยังคงมีการสร้างอินซูลินแต่ทำงานไม่เป็นปกติ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว โดยอาจจะใช้ยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด

นอกจากนี้ เบาหวาน ยังมีสาเหตุมาจากการใช้ยาด้วย เช่น สเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาเม็ดคุมกำเนิด

โรคเบาหวานเกิดได้อย่างไร

อาจเกิดได้จากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรืออินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ (ภาวะดื้ออินซูลิน) และการการโรคเบาหวานประเภทที่ 2 มักเกิดจากความผิดปกติของ 2 ประการนี้ร่วมกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการทำงานผิดปกติของ ฮอร์โมน อินคริติน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน

เมื่อทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ร่างกายของคนปกติที่ไม่ได้มีความผิดปกติของฮอร์โมนอินซูลิน จะทำการย่อยสลายคาร์โบไฮเดรตเป็นน้ำตาลกลูโคสและดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงานของร่างกาย ซึ่งฮอร์โมนจากตับอ่อน คือ อินซูลิน จะเป็นตัวพาน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย ดังนั้นถ้าตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่ได้ หรือสร้างไม่พอ จะทำให้การทำงานไม่ดีส่งผลให้มีน้ำตาลในเลือดเหลือค้างมากและมีระดับสูงกว่าปกติ เกิดเป็นโรคเบาหวาน


Comentarios


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square

Thai holistic health

for king

  • w-facebook

โครงการสุขภาพดีวิถีธรรมวิถีไทยถวายในหลวง

สถาบันศาสตร์แห่งความสุขและความสำเร็จ

ชั้น 3 อาคารมูลนิธิโพธิรังสี 18/49 ม.5 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

โทร. 094-5598228 (ครูบอล)

bottom of page