18 สาเหตุของอาการปวดท้องน้อย

อาการปวดท้องน้อย สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่มักเกิดในเพศหญิงซึ่งมีหลายอาการที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะหากอาการปวดท้องน้อยเกิดขึ้นเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดความวิตกกังวล ซึ่งอาการปวดท้องน้อยอาจเป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยที่รุนแรง ดังนั้นเมื่อมีอาการปวดท้องน้อยหรือปวดท้องน้อยเรื้อรังโดยเฉพาะในเพศหญิงควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
สาเหตุของอาการปวดท้องน้อย
1. อุ้งเชิงกรานอักเสบ เกิดจากอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งหากมีความรุนแรงอาจทำให้
เชื้อลามไปในช่องท้อง มีไข้ ไม่ค่อยสบายตัว หากมีอาการปวดท้องน้อยมากๆ อาจทำให้เกิดอาการช็อคได้
2. มดลูกอักเสบ จะมีลักษณะอาการปวดท้องน้อย ปวดระบม และมีไข้ร่วมด้วย หรืออาจมีตกขาวออกผิดปกติร่วมด้วย
3. อารการปวดท้องน้อยแบบเฉียบพลัน อาจเกิดจากการท้องนอกมดลูก เนื้องอกของรังไข่ การอักเสบ เช่น
ปีกมดลูกอักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ ทางเดินปัสสาวะอักเสบหรือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่อักเสบ
หรือเป็นแผลเรื้อรัง
4. อาจเกิดจากพฤติกรรม เช่น การนั่งรถนานๆ หรือการนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน
5. อาการปวดท้องน้อยเรื้อรังในสตรี เกิดจากการปวดประจำเดือน เนื้องอกในมดลูก
6. อาหารไม่ย่อย ท้องผูก
7. อาการปวดน้อยจากไส้ติ่งอักเสบ มักปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวา และรอบๆสะดือ มีอาการเบื่ออาหาร
หรือคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
8. ติดเชื้อไวรัสในกระเพาะอาหาร
9. หากปวดท้องน้อยในขณะที่กำลังปัสสาวะอาจเกิดจาก กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
10.นิ่วในไตและถุงน้ำดีอักเสบที่เกิดจากนิ่ว
11. อาการลำไส้แปรปรวน (IBS)
12. อาหารเป็นพิษ
13. แก๊สในกระเพาะอาหาร
14. เป็นแผลในกระเพาะอาหาร
15. ไส้เลื่อน
16. โรคลำไส้อักเสบเรื้อรังที่เกี่ยวกับการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร รวมถึงโรค Crohn และลำไส้ใหญ่
17. กรดไหลย้อน (GERD)
18. อาการปวดเกร็งที่บริเวณท้องน้อยในช่วงที่มีประจำเดือนอย่างรุนแรง มักเกิดกับสตรีที่ไม่มีบุตร เนื่องจากในขณะ
ที่มีประจำเดือนนั้นเยื่อบุโพรงมดลูกที่ไหลออกมาเป็นประจำเดือน ไม่ไหลออกมาทางช่องคลอดตามปกติ
แต่มีการตกค้างไปอยู่ที่อื่น เช่น มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดถุงน้ำและกลายเป็นช็อกโกแลตซีสต์นั่นเอง
อาการปวดท้องน้อยที่มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยที่ควรให้ควรสำคัญและเข้ารับการตรวจวินิฉัยโดยเร็วที่สุด
– มีไข้
– มีอาการขาดน้ำ
– ไม่สามารถกลืนอาหารลงได้มากกว่า 2 วัน
– ไม่สามารถขับถ่ายอุจจาระโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการอาเจียนร่วมด้วย
– มีอาการเจ็บปวดขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะผิดปกติ
– มีอาการปวดมากกว่า 2-3 ชั่วโมง
– อาเจียนเป็นเลือด
Comments